วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551

คอนโดฯ โตแรงไม่หยุด..

บ้านเดี่ยว-ทาวน์เฮาส์...สะดุด
ชีบี ริชาร์ด เอลลิส ยังรายงานด้วยว่า ตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบยิงตรงไปที่ตลาดบ้านเดี่ยว-ทาวน์เฮาส์ ในช่วงที่ผ่านมาเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจและการเมืองหนักที่สุด ทำให้ตลาดทรงตัวไปจนถึงทรุดตัว จากสถิติในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550 มีบ้านจัดสรรใหม่สร้างเสร็จเพียง 7,054 หลัง ลดลง 22.7% ส่วนทางน์เฮาส์ใหม่สร้างแล้วเสร็จ 4,560 หลัง ลดลง 15.7% โดยภายในสิ้นปี 2550 คาดว่าจะมีจำนวนที่อยู่อาศัยใหม่ลดลงจากปี 2549 ประมาณ 20% ทั้งนี้ ตลาดที่าการซื้อขายกันอยู่เป็นส่วนใหญ่จะอยู่ที่ตลาดระดับกลาง และตลาดล่าง ภายใต้การแข่งขันที่ดุเดือด ดูได้จากการระเบิดแคมเปญของแต่ละค่าย ลด-แลก-แจก-แถม เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาด สำหรับในปี 2551 คาดว่าบ้านเดียว และทาวน์เฮาส์ จะดีขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นกับเศรษฐกิจหลังการเลือกตั้ง ถ้าไม่มีความชัดเจนจะส่งผลให้การเติบโตชะลอออกไปอีก หรือเป็นไปอย่างช้าๆ ภาพรวมอสังหาฯหดตัว 75%
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 มีจำนวนโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยและปานกลางที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนทั่วประเทศ ทั้งสิ้น 24 โครงการ รวมจำนวน 10,524 ยูนิต แยกเป็นบ้านเดี่ยว 2,661 ยูนิต ทาวน์เฮาส์ 3,996 ยูนิต และห้องชุดคอนโดมิเนียม 3,867 ยูนิต คิดเป็นจำนวนยูนิตเฉลี่ยต่อโครงการ 439 ยูนิต ลดลงประมาณ 75% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีจำนวนโครงการที่ได้รับการส่งเสริม 36 โครงการ รวม 42,635 ยูนิต คิดเป็นจำนวนยูนิตเฉลี่ยต่อโครงการประมาณ 1,184 ยูนิต "หากดูรายละเอียดตามประเภทจะเห็นได้ว่ายอดขอจัดสรรมีขนาดโครงการที่เล็กลง และจำนวนยูนิตของคอนโดลดลงมากที่สุดจากที่ปีก่อนมี 30,886 ยูนิต แต่ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้กลับมียอดอนุมัติเหลือเพียง 3,867 ยูนิต ลดลงเกือบ 90% ส่วนบ้านเดี่ยวลดลง 40% และทาวน์เฮาส์ลดลง 45% ตามลำดับ" นายสัมมา ยังบอกว่า สำหรับในไตรมาส 3 ปี 2550 เพียงไตรมาสเดียว มีโครงการที่อยู่อาศัยที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอเพียง 5 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ 162 ยูนิต นนทบุรี 965 ยูนิต สมุทรปราการ 224 ยูนิต ฉะเชิงเทรา 358 ยูนิต ชลบุรี 292 ยูนิต ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยประเภททาวน์เฮาส์ รองลงมาเป็นคอนโดมิเนียม แต่ไม่มีประเภทบ้านเดี่ยว อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าที่ผ่านมาการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในที่อยู่อาศัยมีรวมกันปีละไม่เกิน 10,000 ยูนิต แต่ตั้งแต่ปี 2548 มีถึง 36,175 ยูนิต และเพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัวเป็น 61,331 ยูนิต ในปี 2549 ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในบางส่วนของโครงการบ้านเอื้ออาทร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2549 มีที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมากถึงประมาณ 35,200 ยูนิต แต่ในรอบ 9 เดือนแรกปี 2550 มีที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพียง 4,100 ยูนิตเท่านั้น
เอกชนขอปรับราคาเกิน 6 แสนบาท
ทางด้านนางหิรัญญา สุจินัย รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมามีภาคเอกชนได้พยายามที่จะขอให้บีโอไอปรับขึ้นราคาบ้านที่ให้การส่งเสริมการลงทุนจากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 6 แสนบาทต่อยูนิต ให้เกินกว่า 6 แสนบาท เนื่องจากวัสดุก่อสร้างปรับราคาขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวทางบีโอไอต้องพิจารณาให้ละเอียดให้ชัดเจน แต่ยอมรับว่าในช่วง ปี 2549-2550 มีเอกชนขอรับการส่งเสริมบ้านบีโอไอมากขึ้น ทั้งนี้จนถึงปัจจุบันมีบ้านที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอแล้วประมาณ 130,000 ยูนิต

Sexycat ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก บิสิเนสไทย

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551

พลังงานน้ำมันอาจหมดโลกอีก 40 ปี


British Petroleum บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของอังกฤษพยากรณ์ว่า น้ำมันจะหมดโลกภายใน 40 ปี ส่วนก๊าซธรรมชาติจะหมดลงภายใน 60 ปี ขณะที่ถ่านหินยังเหลือใช้ได้ถึง 220 ปี ถ้าคำทำนายนี้เป็นความจริง ..... "คุณ"จะทำอย่างไรกับเวลาที่เหลืออยู่ ?


รายงานจากสหประชาชาติ ชิ้นหนึ่ง ระบุว่า จำนวนประชากรโลกในอีก 50 ปีข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 ล้านคน จากปัจจุบันมีจำนวน 6,000 ล้านคน เฉพาะแค่ทวีปเอเชียเพียงแห่งเดียวจะมีจำนวนมนุษย์เพิ่มขึ้นถึง 5,500 ล้านคน จากปัจจุบัน 3,600 ล้านคน ทว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงของทวีปที่มีจำนวนประชากรมากกว่า 60% ของโลกแห่งนี้ ก็คือ อัตราการความต้องการพลังงานของทวีปนี้ เพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราการขยายตัวของจำนวนประชากร เอเชียเป็นแหล่งตลาดเกิดใหม่ ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจหลายแห่ง จีน ,อินเดีย และบางประเทศในอาเซียน อย่าง อินโดนีเซีย,เวียดนาม ล้วนเป็นตัวอย่าง ที่สะท้อนให้เห็น การขยายตัวของภาคเศรษฐกิจ ที่พุ่งทะยานราวกับติดจรวด และนั่น ... เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แหล่งพลังงานดั้งเดิมของโลก ที่มาจากซากฟอสซิล ต้องร่อยหรอไปในอัตราดับเบิ้ล ! แล้วประเทศไทยที่ต้องนำเข้าน้ำมันปีละ 8 แสนกว่าล้านบาท จะหา "แหล่งพลังงานใหม่"ที่ยั่งยืน มาทดแทน "น้ำมัน"ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักมาช้านานได้จากที่ไหน?
80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมัน 2551 เมื่อ 1 ปีก่อนแทบไม่มีใครเลยในธุรกิจน้ำมันที่คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบจะขึ้นไปถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2550 แม้แต่มอร์แกน สแตนลีย์ ยังทำนายว่าราคาจะลดลง แต่กลับกลายเป็นว่าราคาน้ำมันดิบได้สร้างจนสถิติใหม่ที่ 98.18 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อเดือนพฤศจิกายน ในปีที่ผ่านมา ! กระทั่ง เฟธไบรอล หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ(ไออีเอ) ยังกล่าวว่า "หากผมต้องบรรยายภาพราคาน้ำมันในปี 2550 มันก็เหมือนกับการเต้นรำบนน้ำแข็งแผ่นบางๆ" แม้มีความวิตกว่าเศรษฐกิจสหรัฐ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า แต่นักวิเคราะห์หลายคน ก็ยังคาดการณ์ว่า การบริโภคน้ำมันทั่วโลกจะมีความแข็งแกร่งขึ้น ซึ่ง "ดีมานด์"ส่วนใหญ่มาจาก เอเชียและตะวันออกกลาง แต่นั่นจะทำให้ซัพพลายทั่วโลกตึงตัวไปอีก.... นักประมาณการราคาน้ำมัน กำลังนำบทเรียนจากปี 2550มา พิจารณาราคาน้ำมันในปี2551 และบทเรียนหนึ่งที่มีการพิจารณาคือ ความต้องการบริโภคทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ธุรกิจบุกเบิกและพัฒนาแท่นขุดเจาะน้ำมันแห่งใหม่ก็มีมูลค่าแพงกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทำให้ผู้นำในวงการอุตสาหกรรมน้ำมันคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบสหรัฐจะมีราคาเฉลี่ยประมาณ 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2551 จาก 71.89 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปี2550 นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวถึงแนวโน้มราคาน้ำมันตลาดโลกในปี 2551 ว่า จะยังคงผันผวนและแกว่งตัวขึ้นลงตามปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์และอุปทานน้ำมัน "ผมยอมรับว่าไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก เพราะมีการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ 80-90% ที่ผ่านมาเราต้องเสียเงินปีละ 850,000 ล้านบาทถึง 1 ล้านล้านบาท ทำให้เศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องผูกพันกับเศรษฐกิจโลก ขณะที่คนไทย 63 ล้านคนมีการใช้พลังงานประมาณ 700,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง" เขาเชื่อว่า ทางออกของเรื่องนี้ก็คือ การหันมาใช้พลังงานทดแทนด้านอื่น ไม่ว่าจะเป็นเอทานอลหรือแก๊สโซฮอล์ ซึ่งจะช่วยประหยัดน้ำมันได้มาก อย่างภาคขนส่งมีการดัดแปลงสภาพรถยนต์และรถแท็กซี่ให้หันมาใช้ PG มากขึ้นเป็นต้น
ท่านทราบไหมว่าท่านเองใช้พลังงานในแต่ละวันอย่างประหยัดตามรอบพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราอย่างไรบ้าง มีการเริ่มความประหยัดในบ้านของเราเองหรือยัง ถ้ายัง ท่านก็อย่าหวังไปเลยว่าคนอื่นๆจะประหยัดพลังงานเหล่านี้แทนท่าน ง่ายๆที่ Sexycat จะขอตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มที่ตัวเรา ครอบครัวเราก่อน เช่นการทำบัญชีว่าวันนี้เราเติมน้ำมันกีบาทกี่ลิตร แล้วนำมาคำนวณดง่ายๆว่าครบ1 เดือน เราหมดไปเท่าไหร่ บางท่านอาจตกใจ ว่าไม่น้อยเลยที่เราสูญเสียไปกับการเดินทาง
ขอขอบคุณ ทีมข่าวบัสสิเนสไทย วันนี้ Sexycat ขอให้ทุกคนโชคดีตลอดปี 2008

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เลือกตั้ง ปี 2550




วันนี้ตั้งแต่เช้า ไปลงคะแนนเลือกคนที่เราชอบและเลือกพรรคที่เราจะไว้ใจให้ดูแลเราและประเทศไทย




ไม่น่าห่วงอย่างที่คิด เพราะปีนี้ดูแล้วทุกคนกระตือรือล้นกันมากที่จะไปออกเสียงใช้สิทธิในการลงคะแนน การเลือกตั้งปีนี้มีขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 Sexycat ได้ไปออกเสียงแล้ว ก็นั่งรถบึ่งไปโคราช นครราชสีมาบ้านเอง ไปเที่ยวดูงานมอเตอร์โชว์ที่เดอะมอลโคราช เห็นรถรุ่นใหม่มีหลายคัน ทั้ง เจแปน ยุโรป ถือว่าทุกค่ายเอารถเจ๋งๆ ไม่ใช่เจ้งๆมาให้ชม เห็นแล้วน้ำลายยืดบอกไม่ถูก ที่ถูกคือ ในกระเป๋านะมีไม่พอดาวน์ๆๆๆๆๆๆ


เข้าเรื่องบรรยากาศ การเลือกตั้งต่อดีกว่า ที่โคราช คงจะเป็นเมืองใหญ่จริงๆ เพราะคนมาออกเสียงจะไม่แน่นมากแต่จะออกมาใช้สิทธิเรื่อยๆแบบผู้ดีเก่า บางคนกางร่มมาน่ารักดี ออกเสียงด้วยป้องกันมะเร็งผิวหนังไปด้วย


วันนี้ขอแค่นี้ก่อนละกัน ขอดูผลการนับคะแนนก่อนว่าใครได้เท่าไหร่ แต่ข่าวที่ออกมา พลังประชาชน 230 เสียงแล้วนะ ส่วนประชาธิปัตย์ ก็ 160 กว่าๆ ที่เหลือก็ชาติไทย 35 บวก แล้วใครจะได้ขึ้นแท่นรัฐยาลนะงานนี้


แต่ขอให้ประเทศก้าวหน้า เครษฐกิจก้าวไกล ผู้บริหารซื่อสัตย์มีคุณธรรม จริยธรรม ทำเพื่อบ้านเมืองจริงๆทั่วหน้าทั่วตาเถอะ แล้วจะกาให้อีกในสมัยต่อๆไป


วันนี้ Sexycay by by

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550

Higher drug prices Country rich enough to meet share of R&D,Thailand


Thailand 'can afford' higher drug prices
Country rich enough to meet share of R&D

APIRADEE TREERUTKUARKUL
Thailand is not a poor country and can afford to pay a little more for patented medicine, although not as much as rich countries, according to Jeffrey Sachs, special adviser to the United Nations secretary-general.

Mr Sachs, a professor of health policy and management at Columbia University, said since Thailand is a middle-income level country with a gross national product of US$3,000 a year it should be able to bear higher research and development costs of brand-name pharmaceutical companies, not just the production costs.
''It does seem to me that the right answer is to pay a little bit more than the poor countries. But not anything like what the rich country market would charge.

''Some kind of middle level that reflects the middle level of income,'' he said.

''Don't put Thailand in exactly the same position as Ghana,'' he said.

The former director of the UN Millennium Project said he was sympathetic towards patent protection. The system actually had a lot of merit because it created an incentive for drug development. The industry requires hundreds of millions of dollars to develop new drugs and it needs a return from patent protection.

However, there was nothing wrong with the use of compulsory licensing of essential medicines.

The government last January issued compulsory licensing under the agreement on Trade-Related Aspects on Intellectual Property Rights (Trips) to bypass patents on the anti-Aids and heart drugs Efavirenz, Kaletra and Plavix.

UN Secretary-General Ban Ki-Moon lauded the country's move on compulsory licensing during his visit last week as progressive. He said Thailand had also made commendable efforts in containing the spread of HIV/Aids.

Robert Weissman, the director of Essential Action, a Washington DC-based organisation that promotes access to medicines, argued that production costs of new drugs were relatively low and that the drug industry does not spend too much of its revenue on research and development these days. Public research institutions, on the other hand, play a key role in developing important life-saving drugs, he said.

According to Pharmaceutical Research and Manufacturers of America, the industry spends only 17.5% of its revenue on research. In addition, most of the new products introduced to the market are driven by marketing priorities rather than health needs.

''The patent system fails to deliver drugs for neglected diseases, for example malaria and tuberculosis. It is not acceptable to maintain a research and development system funded by high prices rather than prioritising the health needs of the world's population,'' he said.

Mr Weissman said middle-income countries should make a fair contribution to research. Discussions are underway at the World Health Organisation to explore ways to advance both innovation and increase access.

''The world must find ways to support research and development that does not result in the rationing of life-saving medicines in developing countries, and denial of life-saving treatment to people simply because they are poor,'' he said.

Siriwat Tiptaradol, secretary-general of the Food and Drug Administration, said Thailand would not depend entirely on compulsory licensing to override drug patents and cut drug prices forever.

''It is essential to develop a research and development system as well as a local generic drug industry to widen access to life-saving medicines for the vast majority of Thais. The government is also seeking technology transfer from generic drug-makers in India and China to develop essential cancer and heart drugs,'' he said.

Public Health Minister Mongkol Na Songkhla was recently in India to meet the country's generic drug producers. Some agreed with the idea of technology transfer.

Apart from Aids and heart drugs, three cancer drugs from India have also been forwarded for registration with the FDA, after the government said it wanted to widen access to four patented drugs for the treatment of leukaemia, breast and lung cancers.

Roche holds the patent for lung cancer drug Erlotinib, whereas Sanofi Aventis owns the patent for Docetaxel, widely used for treating lung and breast cancers. Novartis owns the patents for the leukaemia drug Imatinib and the breast cancer drug Letrozole.

Dr Siriwat said his price-negotiating panel will hold a final round of discussions with the patent owners today, before deciding whether the government will issue compulsory licences for the drugs. ,Bankok post news